วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การเจริญเติบโต


หลังจากที่ผีเสื้อตัวเมียวางไข่แล้ว 2-3 วัน ก็เริ่มปรากฏตัวหนอนเล็กๆ ขึ้นภายในไข่ ประมาณ 5-10 วันนับจากที่เริ่มวางไข่ ตัวหนอนที่อยู่ภายในก็โตเต็มที่ มันจะใช้ปากเจาะเปลือกไข่ให้แตกและดันตัวออกมา จากนั้นจึงเริ่มกินเปลือกไข่ของตัวเองเป็นอาหารมื้อแรกทันทีที่โผล่ออกมาดูโลก ไม่มีคำยืยยันแน่ชัดว่าเพราะเหตุใดหนอนผีเสื้อจึงต้องกินเปลือกไข่ตัวเอง นักวิทยาศาสตร์บางท่านสันนิฐานว่า เปลือกไข่อาจมีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของหนอนผีเสื้อ หรืออาจเป็นการทำลายหลักฐาน และร่องรอยที่จะทำใหศัตรูรู้ถึงแหล่งอาศัยของมัน เหมือนกับพ่อแม่ของนกบางชนิดคาบเปลือกไข่ของลูกหลังจากที่ตัวหนอนกัดกินเปลือกไข่จนหมดก็จะเริ่มกินใบพืชเป็นอาหารต่อไป

การกำเนิดของผีเสื้อ

ในภาวะการสืบพันธุ์แบบปกติแล้วตัวเมียจะผสมกับตัวผู้ครั้งเดียวเท่านั้น แต่ตัวผู้จะผสมกับตัวเมียได้หลายตัว เมื่อผสมพันธุ์กันแล้ว ตัวเมียจะหาที่วางไข่บนใบ และลำต้นของพืชอาหาร การเลือกพืชอาหารสำหรับไข่จะเป็นความสามารถเฉพาะตัวของผีเสื้อพรรณ (specie) นั้น ๆ
ก่อนวางไข่ ตัวเมียมักตรวจสอบกลิ่นพืช โดยใช้หนวดและขนบริเวณปลายขาซึ่งมีเส้นประสาทรับกลิ่นสัมผัสกับตำแหน่งที่วางไข่ก่อน วิธีการนี้ทำให้ผีเสื้อสามารถวางไข่บนพืชอาหารของตัวเองได้อย่างถูกต้อง
ระยะวางไข่ผีเสื้อโดยทั่วไปตัวเมียจะวางไข่ประมาณหนึ่งร้อยฟอง มีอายุ 5-7 วัน และในหนึ่งร้อยฟองนี้ใช่ว่าจะเกิดเป็นผีเสื้อหนึ่งร้อยตัวในธรรมชาติเลย อัตราการรอดของผีเสื้อกลายมมาเป็นแมลงปีกสวยแค่ร้อยละ 2 เท่านั้น ที่เหลือต้องสวมบทบาทเป็นเหยื่อของนกและแมลงบางชนิดไปหรืออาจจะถูกลมฟ้าพัดพาไข่ให้ล่องลอยไปหมดโอกาสเป็นผีเสื้อในวันข้างหน้า

เเห่งที่อยู่ของผีเสื้อ


ผีเสื้อ สมิง …. เชียงดาว นอกจากดอยเชียงดาว จะอุดมไปด้วยพรรณพืชหายาก หลากหลายชนิดแล้ว ดอยหลวงเชียงดาว ยังเป็นแหล่ง ที่อยู่อาศัย ของผีเสื้อที่หายาก ผีเสื้อสมิงเชียงดาว (Bhutanitis sp. )ซึ่งผีเสื้อสมิงเชียงดาว เป็นอีกชนิดย่อยหนึ่ง ต่างจากที่พบในประเทศภูฐาน จาก ความ หายากนี้เอง ทำให้สมิงเชียงดาวมีราคาสูง (ปัจจุบันมีราคาตัวละหลายหมื่นบาท) และเป็นที่ต้องการ ของ นักสะสม ซึ่งในเวลา ต่อมาสมิงเชียงดาว ได้ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว จากการล่าของมนุษย์ กอปรกับการ เปลี่ยน แปลง ทางสภาพนิเวศวิทยา บนดอยเชียงดาว ทำให้ไม่มีผู้พบเห็น สมิงเชียงดา ว อีกเลย จวบจนปัจจุบัน คาดว่าผีเสื้อ หายากชนิดนี้ได้สูญพันธุ์ไปจากดอยเชียงดาวแล้ว

กลุ่มพันธุ์ผีเสื้อ


ผีเสื้อ เป็น แมลงที่มีลักษณะเด่นตรงที่ปีกสวยงาม เป็นสัตว์ในไฟลัมอาร์โทร์โปดา (Phylum Arthopoda) เช่นเดียวกับ แมลงทั่วไป ๆ อยู่ในอันดับเลพิดอปเทอรา (Order Lepidoptera) ของชั้นอินเซกตา(Class Insecta) ในอดีตการอนุรักษ์ ผีเสื้อในประเทศไทย ยังไม่เคย มีรูปแบบที่ชัดเจน เนื่องจากพระราชบัญญัติ สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 มิได้กำหนดให้แมลงและแมงเป็นสัตว์ ป่า ทำให้มีการดักจับผีเสื้อ เพื่อนำไปขายเป็น ของที่ระลึกอย่างไม่มีขอบเขต จนทำให้ผีเสื้อบางชนิดได้ สูญพันธุ์จากประเทศไทย ไปแล้ว ตัวอย่างเช่น ผีเสื้อสมิงเชียงดาว(Bhutanitis lidderdalei) และอีกหลาย ชนิดที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เช่น ผีเสื้อไกเซอร์(Teinopalpus imperialis)เป็นต้น

ประวัติของผีเสื้อ


ผีเสื้อคืออะไรผีเสื้อ คือ สัตว์ปีกอีกชนิดหนึ่งที่มีสีสรรสวยงามเเต่มีอายุไม่ยืนยาว ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์จะมีผีเสื้ออยู่มากดังนั้นผีเสื้อก็ เป็นเครื่องบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ดังนั้นเราควรรักษาผีเสื้อ ให้อยู่คู่กับป่าตลอดไป ลักษณะของผีเสื้อ ผีเสื้อก็เหมือนกับเเมลงทั่วไป คือเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง มีขาเป็นปล้องจำนวน 6 ขา มีกระดูกสันหลังอยู่นอกลำตัวห่อ หุ้มอวัยวะต่างๆไว้ ร่างกายประกอบด้วย 3 ส่วนด้วยกันคือ หัว อกเเละท้อง ซึ่งเเต่ละส่วนเป็นที่ตั้งของอวัยวะสำคัญ ในบรรดาสัตว์ต่าง ๆ ที่อยู่บนโลกนี้ สัตว์จำพวกแมลงมีจำนวนชนิดมากถึง 3 ใน 4 ของสัตว์ทั้งหมด ด้วยวิวัฒนาการอันยาวนาน แมลงจึงมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างหลากหลายมาก ซึ่งจากการศึกษา ซากดึกดำบรรพ์ของ ผีเสื้อที่ค้นพบในปัจจุบัน พบว่า แมลง ในกลุ่มของผีเสื้อ มีแผ่นปีกบาง ๆ ซึ่งชำรุด เสียหายได้ง่ายหลังจากที่มันตายไปแล้ว จึงเป็นการยากที่จะบอกเรื่องราว ในอดีตได้มากนัก เราต้องอาศัยจินตนาการและการคาดเดาในบางส่วน